ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
- ความแตกต่างทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความชำนาญในการผลิต
- ความแตกต่างทางด้านประชากรและการศึกษา
- ความแตกต่างทางด้านปัจจัยการผลิต และระบบเศรษฐกิจ
- ความแตกต่างทางด้านการเมือง การปกครอง และระบบเงินตรา
ข้อใดมิใช่ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ
- ทำให้ขาดดุลการค้า
- เกิดการถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยี
- การแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อการบริโภค
- ผลผลิตภายในประเทศขยายตัว
ข้อใดต่อไปนี้ มิใช่ ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
- ประชาชนมีโอกาสได้เดินท่องเที่ยวในต่างประเทศ
- ประชาชนได้ใช้สินค้าคุณภาพดีและราคาไม่แพง
- มีสินค้าให้ประชาชนได้เลือกใช้หลากหลายชนิด
- ผู้ผลิตได้แบบอย่างเทคนิคการผลิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ
- ระบอบการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ
- ต้นทุนการผลิตแต่ละประเทศไม่เท่ากัน
- ทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน
- รสนิยมในการบริโภคแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ
- การหาผลประโยชน์ที่สูงกว่าในประทศของตน
- การสร้างเสถียรภาพทางการเมือง
- การค้าและการลงทุน
- การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วมักใช้วิธีการในข้อใดกีดกันภาษีทางการค้า
- กำหนดมาตรฐานการค้าไว้สูง
- สนับสนุนผู้ส่งออก
- กำหนดภาษีนำเข้า
- ควบคุมปริมาณสินค้านำเข้า
ข้อใดกล่าวถึงนโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยไม่ถูกต้อง
- ไม่มีการควบคุมการค้าและการนำเข้าสินค้าทุกชนิด
- ถือระบบการค้าโดยเอกชนเป็นส่วนใหญ่
- ใช้ระบบภาษีพิกัดอัตราเดียวและอัตราซ้อน
- ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มอาเซียน
ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆนำมาใช้
- การร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
- การปฏิบัติตามข้อตกลงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
- การเจรจาต่อรองทางการค้า
- การหาตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ข้อใดมิใช่นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
- การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยธนาคารกลาง
- ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าจากบางประเทศ
- การกำหนดโควตานำเข้าและส่งออกสินค้า
- การจำกัดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศ
ข้อใดเป็นนโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทย
- นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
- นโยบายการค้าแบบเสรี
- ใช้ภาษีศุลกากร
- ให้เอกชนดำเนินการมากที่สุด
รถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาสูงมากกว่ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยเป็นผลสืบเนื่องมาจากมาตรการในข้อใด
- การตั้งกำแพงภาษี
- การให้สิทธิพิเศษ
- การกำหนดโควตาสินค้า
- การเก็บภาษีสรรพสามิต
ข้อใดเป็นความหมายของการทุ่มตลาด (Dumping)
- การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่นในราคาต่ำกว่าทุนเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด
- การส่งสินค้าที่มีคุณภาพไปขายประเทศอื่นในราคาสูงกว่าทุน
- การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่นในราคาสูงกว่าทุน
- ส่งสินค้าไปขายต่างประเทศน้อยกว่าการนำเข้า
ข้อใดเป็นลักษณะการค้าระหว่างประเทศที่ใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
- ตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้าเข้าให้สูง
- ลดเงื่อนไขการค้าให้น้อยลง
- ส่งเสริมให้เอกชนดำเนินการค้าระหว่างประเทศ
- ไม่มีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรและการค้า
สินค้าส่งออกของประเทศไทยในข้อใดมีมูลค่าสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- ข้าวและยางพารา
- เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
- แผงวงจรไฟฟ้า
ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทใดที่มีมูลค่ารวมมากที่สุด
- เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ
- ยารักษาโรคและเครื่องจักรรถยนต์
- เครื่องมือทางการแพทย์และผลไม้ในเขตอบอุ่น
- เครื่องคอมพิวเตอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ข้อใดเป็นสาเหตุของปัญหาการขาดดุลการค้า
- การซื้อสินค้านำเข้ามากกว่าการส่งออกสินค้า
- การขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ
- ผลผลิตทางการเกษตรมีค่าน้อย
- ค่าเงินบาทไทยตกต่ำอยู่เสมอ
ข้อใดเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า
- ส่งเสริมการส่งออก
- ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
- ส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูก
- สงเสริมการจ้างงานชาวไทย
บัญชีที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการค้าระหว่างประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งประกอบด้วยการส่งออกและการนำเข้าหมายถึงอะไร
- ดุลการค้า
- บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
- บัญชีเดินสะพัด
- ดุลชำระเงินระหว่างประเทศ
ถ้ามูลค่าของสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าของการนำเข้าแสดงถึงสภาวะในข้อใด
- ดุลการค้าขาดดุล
- ดุลการค้าเกินดุล
- ดุลการค้าสมดุล
- ดุลการค้าเสียดุล
ข้อใดคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- มีการชำระเงินระหว่างประเทศและแต่ละประเทศก็มีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน
- มีการค้าระหว่างประเทศและแต่ละประเทศมีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน
- การกำหนดนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
- มีการลงทุนระหว่างประเทศแต่ละประเทศมีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน
ปัจจัยทางการค้าระหว่างประเทศในข้อใดส่งผลต่อราคาสินค้าโดยตรง
- อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา
- การติดต่อสื่อสาร
- การส่งมอบสินค้า
- การรวมกลุ่มทางการค้า
ปริมาณการซื้อเงินตราสกุลต่างประเทศของประชาชนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆกัน เราเรียกว่าอย่างไร
- อุปสงค์ในเงินตราต่างประเทศ
- อุปทานในเงินตราต่างประเทศ
- การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
ปัจจุบันค่าเงินบาทในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
- อุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- ราคาทองคำในตลาดโลก
- ราคาน้ำมันในตลาดโลก
อัตราการแลกเปลี่ยนระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ(managed floating rate system) มีลักษณะสำคัญอย่างไร
- การปรับเปลี่ยนค่าเงินตามกลไกตลาด โดยธนาคารกลางจะเข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากเกินไป
- ปรับเปลี่ยนค่าเงินขึ้นลง โดยเสรีตามกลไกตลาด
- การปรับเปลี่ยนค่าเงินตามอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
- การปรับเปลี่ยนค่าเงิน โดยการควบคุมของรัฐ
ปัจจุบันประเทศไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบใด
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยในแต่ละปีอยู่ในสภาพเกินดุลอยู่เสมอ
- มีดุลการค้าเกินดุลสูงทุกปี
- คนไทยไปทำงานต่างประเทศโอนเงินเข้าประเทศมาก
- มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง
- มีการกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามามาก
ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มมากขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากอะไร
- ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มมากขึ้น
- นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น
- ค่าเงินของต่างประเทศลดลง
- คนไทยเดินทางเที่ยวน้อยลง
ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของบัญชีเดินสะพัด
- บัญชีเงินทุนและการเงิน
- สินค้าเกษตรกรรม
- สินค้าอุปโภคบริโภค
- วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
การกู้เงินข้ามชาติที่ปรากฏมูลค่าในบัญชีทุนและการเงินตรงกับข้อใด
- เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ
- ดุลการค้า
- ดุลบัญชีเดินสะพัด
- ดุลการชำระเงิน
การคำนวณดุลบัญชีเดินสะพัด Current Accountจะต้องดูข้อมูลจากข้อใด
- ดุลการค้า Visible Trade ดุลบริการ Invisible Trade
- การลงทุนทางตรง Direct Invesment การลงทุนทางอ้อม Indirect Invesment
- เงินโอนภาครัฐบาล Government Transferเงินโอนภาคเอกชน Private Transfer
- ทุนสำรองระหว่างประเทศ International Reserves Account ทุนสำรองทางการ Official Reserves
ข้อใดหมายถึงดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
- บัญชีบันทึกรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศของประเทศหนึ่งกับประเทศอื่นๆอันเกิดจากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่าง ผู้มีถิ่นฐานในประเทศ Resident กับ ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ Nonresident ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
- บัญชีรายรับและรายจ่ายของบริการระหว่างประเทศ ประกอบด้วยค่าขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสาร โทรคมนาคม
- ผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่า สินค้าออก เอฟโอ.บี รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า กับมูลค่าสินค้าเข้า
- ผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่า สินค้าออก เอฟโอ.บี (ราคาที่ไม่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า) กับมูลค่าสินค้าเข้า
ข้อใดไม่ใช่รายการบันทึกในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
- บัญชีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
- บัญชีเงินโอนและบริจาค
- บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
- บัญชีเดินสะพัด
บัญชีใดที่ไม่นำมาคำนวณหาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
- บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
- บัญชีเงินโอนและเงินบริจาค
- บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
- บัญชีเดินสะพัด
มาตรการในข้อใดรัฐบาลควรใช้เป็นอันดับสุดท้าย ในการแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
- ลดค่าเงิน
- ลดการสั่งสินค้าเข้า
- ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
- ชักจูงให้ชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยว
ถ้ามีชาวต่างประเทศเข้ามาซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบริษัทภายในประเทศจัดเป็นรายรับประเภทใด
- รายรับของดุลการชำระเงิน
- รายรับของระบบเศรษฐกิจ
- รายรับของระบบสินเชื่อ
- รายรับของระบบกระแสหมุนเวียน
ข้อใด ไม่ใช่ บัญชีดุลชำระเงินระหว่างประเทศ
- บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
- ดุลบัญชีเดินสะพัด
- ดุลบัญชีเงินทุน
- ทุนสำรองทางการ
ถ้าดุลการชำระเงินของประเทศขาดดุลอย่างต่อเนื่องจะเกิดผลอย่างไร
- ทุนสำรองระหว่างประเทศจะลดลง
- การแลกเปลี่ยนเงินตราจะลดลง
- ค่าเงินตราต่างประเทศจะลดลง
- ราคาสินค้าที่นำเข้าจะลดลง
ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- ใช้เป็นทุนสำหรับใช้จ่ายเมื่อมีงบประมาณเกินดุล
- ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราในการออกธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์
- ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระหนี้ให้กับต่างประเทศ
การเคลื่อนย้ายเงินทุนประเภทใดในระยะยาวก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
- การลงทุนทางตรง
- การลงทุนทางอ้อม
- การลงทุนทางการเงิน
- การลงทุนโดยการกู้เงินจากต่างประเทศ
ข้อใดหมายถึงเงินทุนไหลเข้าประเทศลงทุนทางตรง Direct Investment
- เงินที่ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในเมืองไทย
- เงินทุนที่ชาวต่างชาตินำเข้าฝากธนาคาร
- เงินที่ได้จากชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย
- เงินที่ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้น
ข้อใดคือองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศที่รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
- องค์การการค้าโลก
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
- ธนาคารโลก
องค์การการค้าโลกมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้รูปแบบการค้าระหว่างประเทศเป็นไปในลักษณะใด
- นโยบายการค้าเสรี
- ค้าขายกันเฉพาะในกลุ่มประเทศสมาชิกเท่านั้น
- ให้มีการรวมกลุ่มการค้ากันในแต่ละภูมิภาค
- ราคาสินค้าถูกกำหนดโดยองค์การการค้าโลก
ธนาคารโลกถือกำเนิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ใด
- ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
- ช่วยประเทศเล็กๆในการเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศใหญ่ๆ
- ตัดสินกรณีพิพาททางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ
- เปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
ข้อใดหมายถึงการทำการค้าแบบทวิภาคี
- มาเลเซียซื้อข้าวจากไทย ไทยซื้อน้ำมันจากมาเลเซีย
- เวียดนามขายข้าวให้ซาอุดีอาระเบีย ไนจีเรียขายน้ำมันให้ลาว
- ไทยซื้อน้ำมันจากอินโดนีเซีย อินโดนีเซียซื้อข้าวจากเวียดนาม
- สหรัฐอเมริกาขายรถยนต์ให้เกาหลีและซื้อเครื่องไฟฟ้าจากญี่ปุ่น
การรวมกลุ่มระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่นเมื่อพิจารณาจากสินค้า
- โอเปก OPEC
- อาฟตา APEC
- นาฟตา AFTA
- อาเซียน ASEAN
ข้อใดเป็นประเทศผู้เริ่มก่อตั้งอาเซียนทั้งหมด
- ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
- ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์
- ไทย เมียนมาร์ ลาว เขมร เวียดนาม
- ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม
เพราะเหตุใดประเทศสมาชิกอาเซียนจึงต้องมีการตกลงกันในการผลิตสินค้าเฉพาะที่ตนถนัด
- ลดการผลิตสินค้าที่ซ้ำซ้อนกันเพื่อต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
- มีอำนาจต่อรองกับประเทศหรือกลุ่มประเทศคู่ค้า
- ชักจูงประเทศอื่นๆให้มาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน
- เพิ่มการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้มากขึ้น
เป้าหมายทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนคืออะไร
- ร่วมมือกันพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
- ร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
- ส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกให้ปลอดภาษี
- ร่วมมือกันกีดกันสินค้านอกกลุ่มสมาชิก
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสหภาพยุโรป
- เป็นความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
- ใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือเงินมาร์ก
- มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรุงปารีส ฝรั่งเศส
- สมาชิกมีทั้งประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ
การร่วมมือทางเศรษฐกิจกลุ่มใด ที่จัดได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับสูงสุดที่เรียกว่า สหภาพเศรษฐกิจ
- EU
- AFTA
- ASEAN
- NAFTA
เป้าหมายใหญ่ทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน (ASEAN) คืออะไร
- ร่วมมือกันพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
- ร่วมมือกันพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางสังคมของประเทศสมาชิก
- ส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกให้มีลักษณะเป็นเขตปลอดภาษี
- ร่วมมือกีดกันสินค้าเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม
ข้อใดคือผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเอเปก
- มีตลาดการค้าเพิ่มมากขึ้นเป็นผลดีต่อการส่งออก
- ประเทศในสหภาพยุโรปจะเข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้น
- จะได้รับการช่วยเหลือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
- มีระบบการเงินและการคลังแบบเดียวกับประเทศสมาชิก
ภูมิภาคใดของประเทศไทย ที่ได้รับประโยชน์จากกลุ่มสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
- ภาคใต้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคเหนือ
- ภาคตะวันออก
ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกกลุ่มหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
- มาเลเซีย
- ลาว
- เมียนมาร์
- กัมพูชา
การที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การค้าโลกจะมีผลต่อประเทศไทยอย่างไร
- ประเทศไทยจะสามารถส่งสินค้าออกไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เพิ่มขึ้น
- ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนลดปริมาณการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย
- ประเทศไทยจะมีอำนาจต่อรองเจรจาการค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มมากขึ้น
- สาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มที่จะตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากประเทศไทย
ข้อใดไม่ใช่ ลักษณะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามหลักทางเศรษฐศาสตร์
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
- เขตการค้าเสรี
- สหภาพเศรษฐกิจ
- ตลาดร่วม
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในข้อใดที่เปิดโอกาสให้สินค้าเงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี
- ตลาดร่วม (Common Market)
- สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Unions)
- เขตการค้าเสรี (Free Trade Areas)
- สหภาพศุลกากร (Customs Unions)
ข้อใดมิใช่จุดมุ่งหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
- เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้มากที่สุด
- เพื่อยกเว้นภาษีศุลกากรระหว่างสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน
- เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน
- เพื่อเกื้อกูลกันและกันในทางเศรษฐกิจและการค้า
การรวมกลุ่มในข้อใดจะทำให้ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ประโยชน์มากที่สุด
- สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
- สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
- หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
- ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ
ข้อใดเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม
- ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น
- อินเดีย ออสเตรเลีย และไต้หวัน
- สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และเยอรมนี
- อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี